สัทอักษรสากล (อังกฤษ: International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไทย
สัทอักษรสากลเมื่อเริ่มแรกพัฒนาขึ้นโดยคณะของครูสอนภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ซึ่งนำโดย พอล แพสซี พร้อม ๆ กับการก่อตั้งสมาคมสัทศาสตร์สากลขึ้นในกรุงปารีสเมื่อ ค.ศ. 1886 (ทั้งสมาคมและสัทอักษรสากลใช้คำย่อในภาษาอังกฤษว่า IPA เหมือนกัน) สัทอักษรสากลรุ่นแรกอย่างเป็นทางการได้รับการตีพิมพ์ใน Passy (1888) โดยคณะผู้พัฒนาใช้อักษรโรมิก (Romic alphabet) ของ เฮนรี สวีต (Sweet 1880-1881, 1971) เป็นพื้นฐาน ซึ่งอักษรโรมิกนั้นก็นำรูปแบบมาจากอักษรฟอนอไทปิก (Phonotypic Alphabet) ของ ไอแซก พิตแมน และ แอลิกแซนเดอร์ จอห์น เอลลิส อีกทีหนึ่ง (Kelly 1981)
หลังจากนั้น สัทอักษรสากลได้ผ่านการชำระปรับปรุงอีกหลายครั้ง โดยครั้งที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งมีขึ้นในการประชุมของสมาคมฯ ที่คีลเมื่อ ค.ศ. 1989 การชำระครั้งล่าสุดมีขึ้นใน ค.ศ. 1993 และมีการปรับปรุงอีกครั้งใน ค.ศ. 1996
ในชุดสัทอักษรสากล ส่วนใหญ่ของสัญลักษณ์แทนหน่วยเสียงพยัญชนะที่มีรูปร่างเหมือนกับพยัญชนะในอักษรละตินนั้น จะมีค่าของเสียง (sound-value) สัมพันธ์กับเสียงของพยัญชนะเดียวกันในภาษายุโรปส่วนใหญ่ รวมทั้งภาษาอังกฤษด้วย สัญลักษณ์ในประเภทนี้ประกอบด้วย [p], [b], [t], [d], [k], [g], [m], [n], [f], [v], [s], [h], [z], [l], [w]
สัญลักษณ์แทนหน่วยเสียงสระที่มีรูปร่างเหมือนกับสระในอักษรละติน ซึ่งได้แก่ [a], [e], [i], [o], [u] จะมีค่าของเสียงสัมพันธ์กับสระเดียวกันในภาษาเยอรมัน สเปน หรืออิตาลี โดยประมาณ หรืออาจเทียบกับเสียงสระในภาษาไทยได้เป็น อะ, เอะ, อิ, โอะ และ อุ ตามลำดับ
สัญลักษณ์อื่น ๆ ที่เหลือในส่วนที่นำมาจากอักษรละตินนั้น เช่น [j], [r], [c] และ [y] จะสัมพันธ์กับเสียงของตัวอักษรเดียวกันในภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เช่น [j] มีค่าของเสียงเหมือนกับ j ในภาษาเยอรมัน สแกนดิเนเวีย หรือดัตช์ หรืออาจเทียบได้กับเสียง ย ในภาษาไทย เป็นต้น ข้อสำคัญของหลักเกณฑ์การกำหนดใช้สัทอักษรสากลคือ ใช้สัญลักษณ์เพียงตัวเดียวสำหรับหน่วยเสียงแต่ละหน่วย โดยหลีกเลี่ยงการประสมอักษรอย่างเช่น sh และ th ในการเขียนภาษาอังกฤษ
ตัวอย่างเช่น หน่วยเสียง /p/ ในคำว่า pin และ spin ของภาษาอังกฤษ โดยแท้จริงออกเสียงแตกต่างกันเล็กน้อย ความแตกต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญในภาษาอังกฤษ (แต่ก็อาจมีนัยสำคัญในภาษาอื่น) ดังนั้นการอธิบายการออกเสียงเชิงหน่วยเสียงจึงเป็น /p?n/ และ /sp?n/ ซึ่งแสดงด้วยหน่วยเสียง /p/ เหมือนกัน อย่างไรก็ดี เพื่อให้เห็นความแตกต่างดังกล่าว (เสียงแปรต่าง ๆ ของ /p/) สามารถอธิบายเชิงสัทศาสตร์ได้เป็น [p??n] และ [sp?n]
พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอานาโตเลีย (คาเรีย ? ลิเชีย ? ลิเดีย ? ลูเวีย) ? รูปลิ่ม (ซูเมอร์ ? แอกแคด ? อีลาไมต์) ? ตงปา ? ตันกัท ? มายา ? อี้พื้นฐานจากอักษรจีน: คันจิ ? คีตัน ? อักษรจีน (ตัวเต็ม ? ตัวย่อ) ? จื๋อโนม ? จูร์เชน ? น่าซี ? สือดิบผู้จ่อง ? ฮันจา