โครมาโทกราฟี (อังกฤษ: chromatography) เป็นคำศัพท์ที่ตั้งขึ้นโดย Mikhail Tsvet นักพฤกษศาสตร์ชาวรัสเซียในปี ค.ศ. 1906 หมายถึงการใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อแยกองค์ประกอบที่ปะปนกันอยู่ในของผสม โดยปล่อยให้สารผ่านเข้าไปในวัสดุที่มีรูพรุน แล้วสารจะแยกกันได้เนื่องจากอัตราการเคลื่อนที่แตกต่างกัน
วิธีโครมาโทกราฟี ทำโดยใส่สารตัวอย่างที่ปลายด้านหนึ่งของวัสดุมีรูพรุน (วัสดุกรอง) ทำให้ได้ส่วนอยู่กับที่ หรือ stationary phase จากนั้นก็ปล่อยให้ส่วนเคลื่อนที่ หรือ mobile phase ไหลผ่าน องค์ประกอบต่าง ๆ ในสารตัวอย่างจะแยกออกจากกันได้เนื่องจากมีความแตกต่างกันในการกระจายตัวระหว่างส่วนอยู่กับที่กับส่วนเคลื่อนที่ องค์ประกอบใดมีความจำเพาะหรือสัมพรรคภาพ (affinity) กับส่วนอยู่กับที่มาก จะเคลื่อนที่ไปได้ช้า
•โครมาโทกราฟีแบบชั้นบาง (Thin layer chromatography) ใช้แผ่นแก้ว พลาสติกหรือโลหะทำหน้าที่เป็นส่วนค้ำจุนของส่วนอยู่กับที่ โดยส่วนอยู่กับที่มีลักษณะเป็นชั้นบาง ๆ
นอกจากนี้อาจจำแนกประเภทตามชนิดของแรงที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุลของสารกับส่วนอยู่กับที่ได้ดังนี้