ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

Anchoring

ในสาขาจิตวิทยา คำภาษาอังกฤษว่า Anchoring (แปลว่า การตั้งหลัก) หรือ focalism หมายถึงความเอนเอียงทางประชานของมนุษย์ ความมีแนวโน้มที่จะอิงข้อมูลแรกที่ได้มากเกินไป (โดยเป็น anchor คือเป็นหลัก) เมื่อทำการตัดสินใจ ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราพิจารณาข้อมูลแรกที่ได้ในการประเมินค่าที่ไม่รู้ ซึ่งจะกลายเป็นหลักที่จะใช้ต่อ ๆ มา และเมื่อมีหลักตั้งขึ้นแล้ว การประเมินผลต่อ ๆ มาจะเป็นการปรับค่าใช้ข้อมูลที่เป็นหลักนั้น ดังนั้น จึงอาจเกิดความความเอนเอียงเพราะตีความข้อมูลต่อ ๆ มาเป็นค่าใกล้ ๆ หลักที่อาจจะไม่ได้เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกัน โดยไม่สมเหตุผล ยกตัวอย่างเช่น ราคาที่เสนอเริ่มแรกในการซื้อขายรถมือสองจะกลายเป็นหลักที่ใช้ในการต่อราคาที่มีต่อ ๆ มา ดังนั้น ราคาตกลงซื้อที่น้อยกว่าราคาเสนอเบื้องต้นอาจจะดูเหมือนดีกว่าถึงแม้ว่าจริง ๆ แล้ว อาจจะเป็นราคาที่สูงกว่ามูลค่าของรถจริง ๆ

ปรากฏการณ์เพ่งจุดสนใจ (focusing effect) เป็นความเอนเอียงทางประชาน ที่เกิดขึ้นเมื่อเราให้ความสำคัญกับลักษณะหนึ่ง ๆ ของเหตุการณ์มากเกินไป ทำให้เกิดความผิดพลาดในการพยากรณ์อรรถประโยชน์ (utility) ของผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คือ เราเพ่งเล็งความสนใจไปที่ความแตกต่างที่ชัดเจน โดยไม่สนใจความแตกต่างที่ไม่ชัดเจน เมื่อต้องทำการพยากรณ์เกี่ยวกับความสุขหรือความสะดวกสบายที่จะได้

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อถามคนอเมริกันว่า เขาคิดว่าคนแคลิฟอร์เนียมีความสุขมากกว่าคนที่มาจากรัฐทางตอนกลาง (midwesterner) ของประเทศมากแค่ไหน ทั้งคนแคลิฟอร์เนียและคนที่มาจากรัฐทางตอนกลางกล่าวว่า คนแคลิฟอร์เนียจะต้องมีความสุขมากกว่าพอสมควร เมื่อจริง ๆ แล้ว ในงานสำรวจจริง ๆ จะไม่มีความแตกต่างกันระหว่างคะแนนความสุขที่ตนได้ระหว่างคนแคลิฟอร์เนีย กับคนที่มาจากรัฐทางตอนกลาง

ความเอนเอียงเช่นนี้มีฐานมาจากการที่คนอเมริกันเพ่งความสนใจไปที่ภูมิอากาศที่แจ่มใสและรูปแบบชีวิตที่ดูเหมือนจะเป็นแบบง่าย ๆ สบาย ๆ ของคนแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นเรื่องที่คิดถึงได้ชัดเจนกว่า และไม่ให้ค่าและความสำคัญกับการใช้ชีวิตและตัวกำหนดความสุขอย่างอื่น ๆ เช่นการมีอาชญากรรมน้อย และความปลอดภัยจากภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ เช่นแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นสิ่งที่คนแคลิฟอร์เนียไม่มี

อีกตัวอย่างหนึ่ง การมีรายได้เพิ่มขึ้นมีผลเพียงเล็กน้อยและชั่วคราวต่อความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีในชีวิต แต่เราจะประเมินค่านี้สูงเกินไป นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมชาวอเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบล ดร. แดเนียล คาฮ์นะมันเสนอว่า นี้เป็นผลของการแปลสิ่งเร้าผิดโดยเพ่งเล็ง (focusing illusion) ที่เราเข้าไปเพ่งเล็งสิ่งที่สังคมเห็นว่าเป็นความสำเร็จในชีวิต แทนที่จะใส่ใจกิจกรรมในชีวิตประจำวันของตัวเราเอง

Anchoring and adjustment heuristic (ฮิวริสติกการตั้งหลักและการปรับใช้) เป็นฮิวริสติก (คือวิธีการคิดแก้ปัญหา) ที่มีอิทธิพลประเมินค่าความน่าจะเป็นแบบรู้เอง (intuitive) ของมนุษย์ โดยใช้ฮิวริสติกนี้ เราจะเริ่มที่ค่าหลัก (anchor) ที่อาจจะมีการเสนอแบบอ้อม ๆ แล้วปรับใช้เป็นค่าประเมิน คือเราจะมีหลักเป็นค่าประเมินเบื้องต้น (anchor) แล้วปรับค่าขึ้นลงอาศัยข้อมูลอื่น ๆ แต่ว่าการปรับค่ามักจะไม่ได้ทำอย่างเพียงพอ ทำให้หลักเบื้องตนมีอิทธิพลมากเกิดไปในการประเมินค่า

ในปี ค.ศ. 1974 อะมอส ทเวอร์สกี้และแดเนียล คาฮ์นะมันได้คิดค้นทฤษฎีการตั้งหลักและการปรับใช้เป็นพวกแรก ในงานศึกษาเบื้องต้นงานหนึ่งของพวกเขา มีการถามผู้ร่วมการทดลองให้คำนวณเลขภายใน 5 วินาที เป็นการคูณเลขตามลำดับตั้งแต่เลข 1 ถึง 8 โดยแสดงเป็น หรือเป็น แต่เพราะว่าผู้ร่วมการทดลองไม่มีเวลาพอที่จะคูณเลขทั้งหมด จึงต้องประเมินคือเดาคำตอบหลังจากคูณเลข 2-3 ตัวแรก ถ้าผลคูณเลขตัวแรก ๆ มีค่าน้อย เพราะว่าเริ่มจากลำดับเลขน้อย ผลประเมินเฉลี่ยที่ผู้ร่วมการทดลองตอบจะอยู่ที่ 512 แต่ถ้ามีค่ามาก ผลประเมินเฉลี่ยก็จะอยู่ที่ 2,250 (แต่ผลที่ถูกอยู่ที่ 40,320)

ส่วนในงานศึกษาอีกงานหนึ่งของพวกเขา มีการให้ผู้ร่วมการทดลองสังเกตดูล้อรูเล็ตต์ที่กำหนดไว้ก่อนตั้งแต่ต้นให้ตกอยู่ที่เลข 10 หรือ 65 แล้วให้ผู้ร่วมการทดลองเดาเปอร์เซ็นต์ของประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่เป็นประเทศในแอฟริกา ผู้ร่วมการทดลองที่ลูกรูเล็ตต์ตกลงที่ 10 เดาค่าเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำกว่า (25% โดยเฉลี่ย) ส่วนผู้ร่วมการทดลองที่ลูกรูเล็ตต์ตกลงที่ 65 เดาค่าเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่า (45% โดยเฉลี่ย) รูปแบบเช่นนี้ปรากฏซ้ำ ๆ ในงานทดลองอื่น ๆ ประเมินค่าอย่างอื่น ๆ มากมาย

อีกตัวอย่างหนึ่งเป็นงานศึกษาที่ให้ผู้ร่วมการทดลองเขียนเลขสองหลักสุดท้ายของเลขประกันทางสังคมของตน (ซึ่งโดยรวม ๆ แล้วเหมือนกับเป็นเลขสุ่มที่ให้แต่ละบุคคล) แล้วให้พิจารณาว่า ตนยินดีจะจ่ายเงินจำนวนเท่านี้ (เป็นดอลลาร์สหรัฐ) สำหรับสินค้าที่ตนไม่รู้มูลค่า เช่นไวน์ ช็อกโกแลต หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือไม่ ต่อจากนั้นก็ให้ผู้ร่วมการทดลองประมูลสินค้าเหล่านี้ ผลปรากฏว่า ผู้ร่วมการทดลองที่มีค่าเลขสูงกว่าจะทำการประมูลสินค้ามีค่า 60-120% มากกว่าผู้ที่มีค่าเลขต่ำกว่า คือผู้ร่วมการทดลองมีการใช้ค่าเลขประกันทางสังคมของตนเป็นหลักในการประมูลสินค้า

งานวิจัยต่าง ๆ แสดงว่า การตั้งหลักเป็นเรื่องยากที่จะป้องกัน ยกตัวอย่างเช่น ในงานวิจัยหนึ่ง มีการให้หลักที่ไม่สมเหตุสมผล คือมีการถามนักศึกษาสองกลุ่มว่าท่านมหาตมา คานธีเสียชีวิตก่อนหรือหลังวัย 9 ขวบ หรือก่อนหรือหลังอายุ 140 ปี เป็นเรื่องชัดเจนอยู่แล้วว่า เลขหลักเหล่านี้ไม่ใช่อายุที่ถูกต้อง แต่ว่า กลุ่มทั้งสองทำการเดาที่มีค่าต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ คือค่าเฉลี่ยที่ 50 ปี กับที่ 67 ปี

มีงานวิจัยอื่น ๆ ที่พยายามจะกำจัดการตั้งหลักอย่างตรง ๆ ในงานวิจัยหนึ่งที่ศึกษาเหตุและลักษณะต่าง ๆ ของการตั้งหลัก มีการแสดงหลักให้กับผู้ร่วมการทดลองแล้วให้เดาว่า มีแพทย์กี่คนที่อยู่ในสมุดโทรศัพท์ (ขององค์การโทรศัพท์) นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการให้ข้อมูลตรง ๆ ว่า ปรากฏการณ์การตั้งหลักนั้นจะทำคำตอบของผู้ร่วมการทดลองให้เกิดความบิดเบือน และดังนั้น ผู้ร่วมการทดลองควรที่จะพยายามแก้ปัญหานั้น ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้ทั้งเลขหลักไม่ได้ทั้งข้อมูล ไม่ว่าจะมีการให้ข้อมูลแก่ผู้ร่วมการทดลองอย่างไร ผู้ร่วมการทดลองในกลุ่มทดลองทั้งหมดล้วนแต่เดาจำนวนแพทย์ในสมุดโทรศัทพ์ ที่มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม ดังนั้น แม้ว่าจะรู้ถึงปรากฏการณ์ตั้งหลัก แต่ผู้ร่วมการทดลองก็ยังไม่สามารถจะป้องกันความเอนเอียงที่เกิดขึ้นได้ มีงานใน ปี ค.ศ. 2010 ที่พบว่า แม้จะมีการให้รางวัลเป็นเงิน ผู้ร่วมการทดลองก็ยังไม่สามารถที่จะปรับค่าออกจากหลักให้เพียงพอ

มีการเสนอทฤษฎีหลายอย่างที่สามารถอธิบายเหตุของการตั้งหลัก ถึงแม้ว่า ทฤษฎีบางอย่างจะได้รับความนิยมกว่า แต่ก็ยังไม่มีความเห็นพ้องว่าทฤษฎีไหนดีที่สุด ในงานวิจัยหนึ่งที่ศึกษาเหตุของการตั้งหลัก ผู้ทำงานวิจัยสองท่านพรรณนาการตั้งหลักว่า ง่ายที่จะแสดงหลักฐาน แต่ยากที่จะอธิบาย มีนักวิจัยอย่างน้อยกลุ่มหนึ่งที่เสนอว่า มีหลายสาเหตุ และปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "anchoring" จริง ๆ แล้วเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ กันหลายอย่าง

ในงานศึกษาดั้งเดิม ทเวอร์สกี้และคาฮ์นะมันเสนอทฤษฎีที่มีชื่อว่า anchoring-and-adjusting ตามทฤษฎีนี้ เมื่อเกิดการตั้งหลักแล้ว เราจะปรับค่าไปจากหลักนั้นเพื่อได้ค่าที่เป็นคำตอบ แต่เนื่องจากว่า เราปรับค่าไม่เพียงพอ ดังนั้น ค่าการเดาที่ได้ในที่สุดจะอยู่ใกล้หลักโดยไม่สมเหตุผล มีนักวิจัยอื่น ๆ ที่พบหลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีนี้

แต่ว่า นักวิจัยต่อ ๆ มาวิจารณ์ทฤษฎีนี้ เพราะว่าทฤษฎีใช้อธิบายได้แต่ในกรณีที่หลักแรกไม่ได้อยู่ในช่วงคำตอบที่พอรับได้ของผู้ทำการประเมิน เช่น ในตัวอย่างท่านมหาตมา คานธี เนื่องจากการเสียชีวิตในวัย 9 ขวบเป็นหลักที่อยู่นอกช่วงคำตอบ เราจะปรับใช้ค่าจากหลักนั้น แต่ว่า ถ้าให้ค่าที่ดูสมเหตุผล เราก็จะใช้ค่านั้นเลยโดยไม่ได้ปรับใช้ ดังนั้น ทฤษฎีนี้ไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ตั้งหลักได้ทั้งหมด

มีงานวิจัยหนึ่งที่พบว่า ปรากฏการณ์ตั้งหลักเกิดขึ้นแม้เมื่อการรับรู้หลักเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใต้จิตสำนึก แต่ตามทฤษฎีการตั้งหลักและการปรับใช้ เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าการปรับใช้ค่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเหนือจิตสำนึก เพราะเหตุผลที่ว่ามาดังกล่าวนี้ ทฤษฎี anchoring-and-adjusting เริ่มจะไม่ได้รับความนิยม[ต้องการอ้างอิง]

ในงานศึกษาเดียวกันที่วิจารณ์ทฤษฎีการตั้งหลักและการปรับใช้ ผู้ทำงานวิจัยเสนออีกทฤษฎีหนึ่งเรียกว่า selective accessibility ซึ่งเป็นทฤษฎีดัดแปลงมาจากทฤษฎี "confirmatory hypothesis testing" อย่างสั้น ๆ ก็คือ ทฤษฎี selective accessibility เสนอว่า เมื่อได้หลัก เราจะตรวจสอบสมมุติฐานว่า หลักนั้นเป็นคำตอบที่ดีหรือไม่ เมื่อคิดว่ามันไม่ใช่ ก็จะทำการเดาต่อไป แต่ว่าจะเดาหลังจากที่ได้ตรวจดูลักษณะต่าง ๆ ของหลักนั้นที่เข้าประเด็นกับคำตอบ เพราะฉะนั้น เมื่อประเมินค่าคำตอบใหม่ เราก็จะค้นหาลักษณะที่เหมือนกันกับหลัก มีผลเป็นปรากฏการณ์ตั้งหลัก มีงานวิจัยหลายงานที่แสดงหลักฐานการทดลองสนับสนุนสมมุติฐานนี้ ทฤษฎีนี้สมมุติว่า เราจะพิจารณาหลักว่าเป็นค่าที่อาจเป็นไปได้จึงไม่ได้ทิ้งค่านั้นไปตั้งแต่ต้น และการทิ้งจะขัดขวางการพิจารณาลักษณะที่เข้าประเด็นของหลักนั้น[ต้องการอ้างอิง]

ส่วนทฤษฎีล่าสุดที่ใช้อธิบายการตั้งหลักเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการเปลี่ยนทัศนคติ ตามทฤษฎีนี้ การตั้งหลักเปลี่ยนทัศนคติของบุคคลนั้นให้เอนไปทางลักษณะบางอย่างของหลักนั้น ทำให้เกิดความเอนเอียงต่อคำตอบในอนาคตที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับหลัก ผู้ที่สนับสนุนทฤษฎีนี้พิจารณาว่า เป็นคำอธิบายในแนวเดียวกับ anchoring-and-adjusting และ selective accessibility ที่เสนอในงานวิจัยก่อน ๆ

มีงานวิจัยมากมายที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพื้นอารมณ์ซึมเศร้า กับการหาคำตอบต่อปัญหาที่อาศัยความพยายามมากกว่าและมีความแม่นยำกว่า และเพราะเหตุนี้ งานศึกษาต้น ๆ จึงตั้งสมมุติฐานว่า ผู้มีพื้นอารมณ์ซึมเศร้าจะโน้มเอียงไปใช้วิธีแก้ปัญหาเนื่องกับการตั้งหลัก น้อยกว่าผู้ที่มีพื้นอารมณ์ที่ดีกว่า แต่ว่า งานศึกษาต่อ ๆ มากลับแสดงผลตรงกันข้าม คือผู้มีความเศร้าแก้ปัญหาเนื่องกับการตั้งหลักมากกว่าผู้ที่มีความสุขหรือมีความรู้สึกเฉย ๆ

งานวิจัยยุคต้น ๆ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญ (คือผู้มีความรู้ ประสบการณ์ หรือความเชี่ยวชาญทางวิชาการในระดับสูง) มีโอกาสเสี่ยงต่อปรากฏการณ์ตั้งหลักน้อยกว่า แต่ต่อจากนั้นมา มีงานวิจัยมากมายที่แสดงว่า แม้ว่าประสบการณ์บางครั้งอาจจะลดระดับปรากฏการณ์ได้ แต่ว่าแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ยังเสี่ยงต่อปรากฏการณ์นี้ ในงานวิจัยที่ศึกษาผลของการตั้งหลักในการพิพากษา นักวิจัยพบว่า แม้แต่ผู้พิพากษาผู้มีประสบการณ์สูงก็ได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์นี้ ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้แม้ว่า หลักที่ให้จะไม่มีกฏเกณฑ์อะไรและไม่เกี่ยวข้องกับคดีที่กำลังพิจารณา

มีงานวิจัยที่แสดงสหสัมพันธ์ของความเสี่ยงตั้งหลักกับลักษณะบุคลิกภาพบางอย่าง คือ ความไม่ขัดกับคนอื่น (agreeableness คือเห็นใจผู้อื่นและพร้อมที่จะร่วมมือ) และความรอบคอบระมัดระวัง (conscientiousness คือมีระเบียบ ไว้ใจได้ มีวินัย รู้จักหน้าที่) มีโอกาสเสี่ยงตั้งหลักมากกว่า แต่ผู้ที่ชอบสังคม (extroversion คืออารมณ์ดี มั่นใจ ชอบเข้าสังคม และชอบพูด) มีโอกาสเสี่ยงน้อยกว่า ส่วนอีกงานหนึ่งพบว่า ผู้ชอบหาประสบการณ์ใหม่ ๆ มีโอกาสเสี่ยงมากกว่า

อิทธิพลของสมรรถภาพทางประชาน (cognitive ability) ตั้งหลักยังเป็นเรื่องที่ไม่มีข้อยุติ งานวิจัยเกี่ยวกับความยินดีที่จะจ่ายค่าสินค้าในปี ค.ศ. 2010 พบว่า ปรากฏการณ์ตั้งหลักจะลดลงในผู้ที่มีสมรรถภาพทางประชานที่สูงกว่า ถึงแม้ว่าจะไม่ได้หายไปโดยไม่มีส่วนเหลือ แต่อีกงานหนึ่งในปี ค.ศ. 2009 กลับพบว่า สมรรถภาพทางประชานไม่มีผลต่อความเสี่ยงการตั้งหลัก

ในการเจรจาต่อรองราคา การตั้งหลักหมายถึงการตั้งขอบเขตจำกัดเป็นพื้นฐานของการต่อรองราคา และปรากฏการณ์ตั้งหลักหมายถึงปรากฏการณ์ที่เราประเมินมูลค่าจริง ๆ ของสินค้า นอกจากผลงานดั้งเดิมของทเวอร์สกี้และคาฮ์นะมันแล้ว ยังมีงานวิจัยอื่น ๆ อีกหลายงานที่แสดงว่า การตั้งหลักมีอิทธิพลอย่างสูงประเมินมูลค่าสินค้าของเรา ยกตัวอย่างเช่น แม้ว่าผู้ทำการต่อรองราคาสินค้าจะสามารถประเมินข้อเสนอโดยลักษณะหลายอย่าง แต่ว่า งานวิจัยต่าง ๆ พบว่า ผู้ต่อรองราคามักจะเพ่งความสนใจไปในด้านเดียว และดังนั้น การตั้งราคาเบื้องต้นที่ทำอย่างจงใจ สามารถมีอิทธิพลที่มีกำลังต่อขอบเขตของการต่อรองราคา แม้ว่า กระบวนการเสนอราคาและต่อรองราคาปกติจะมีผลเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย แต่ว่า งานวิจัยหลายงานได้แสดงว่า ข้อเสนอเบื้องตนมีอิทธิพลที่มีกำลังต่อผลที่ได้ มากกว่าการต่อราคาต่อ ๆ มา

อิทธิพลของการตั้งหลักเห็นได้ในงานวิจัยงานหนึ่งที่ทำในเวิ้ร์กฉ็อป คือมีการแบ่งผู้ร่วมงานออกเป็นสองกลุ่ม คือคนซื้อและคนขาย แต่ละฝ่ายจะได้รับข้อมูลเดียวกันของฝ่ายตรงข้ามก่อนที่จะทำการเจรจาต่อราคากันหนึ่งต่อหนึ่ง ต่อจากการเจรจา มีการให้ทุกคนรายงานประสบการณ์ของตน ผลแสดงว่า จุดตั้งหลักของผู้ร่วมงานมีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความสำเร็จของแต่ละคน[page needed]

การตั้งหลักมีผลต่อทุกคน แม้แต่ผู้มีความเชี่ยวชาญสูง มีงานวิจัยหนึ่งที่ศึกษาความแตกต่างราคาประเมินของบ้านระหว่างที่ทำโดยนักศึกษากับนายหน้าขายบ้านมืออาชีพ มีการโชว์บ้านให้กับทั้งสองกลุ่มแล้วแสดงราคาขายที่เจ้าของบ่งว่าจะขาย หลังจากให้ผู้ร่วมการทดลองเสนอราคาซื้อสำหรับบ้านนั้นแล้ว มีการถามถึงองค์การตัดสินใจของทั้งสองกลุ่ม แม้ว่านายหน้าขายบ้านมืออาชีพจะปฏิเสธว่าราคาที่แสดงขายมีอิทธิพลตัดสินใจของตน แต่ผลการทดลองแสดงว่า ราคาแสดงขายมีอิทธิพลตัดสินใจต่อคนทั้งสองกลุ่มเท่า ๆ กัน

นอกจากนั้นแล้ว การตั้งหลักยังมีผลที่แยบยลอื่น ๆ ต่อรองราคาอีกด้วย มีงานทดลองหนึ่งที่ศึกษาผลของหลักที่ตั้งอย่างเฉพาะเจาะจง มีการให้ผู้ร่วมการทดลองดูราคาแสดงขายของบ้านริมหาดหลังหนึ่ง แล้วให้กำหนดราคาที่ตนคิดว่าเป็นมูลค่าของบ้านนั้น กลุ่มแรกจะเห็นราคาทั่ว ๆ ไปที่ดูไม่เฉพาะเจาะจง (เช่น $800,000) และอีกกลุ่มหนึ่งเห็นราคาที่เฉพาะเจาะจง (เช่น $799,800) กลุ่มที่เห็นราคาที่กำหนดไม่เฉพาะเจาะจงจะปรับราคาประเมินมากกว่ากลุ่มที่เห็นราคาที่เฉพาะเจาะจง ($751,867 เปรียบเทียบกับ $784,671) นักวิจัยเสนอว่า ปรากฏการณ์นี้เกิดจากความแตกต่างระหว่างตัวประกอบมาตราส่วน (scale) คือหลักที่ตั้งไม่ใช่มีผลแต่ต่อ "มูลค่า" เบื้องต้นอย่างเดียว แต่มีผลต่อ "ตัวประกอบมาตราส่วน" ด้วย เช่นถ้าตั้งราคาเบื้องต้นที่ดูทั่ว ๆ ไปเป็น $20 คนจะปรับราคาโดยส่วนเพิ่มที่ใหญ่กว่า (เช่น $19, $21, เป็นต้น) แต่ถ้าตั้งราคาเบื้องต้นที่เฉพาะเจาะจงเช่น $19.85 คนจะปรับราคาใช้ค่าประกอบมาตราส่วนที่น้อยกว่า (เช่น $19.75, $19.95, เป็นต้น) ดังนั้น ราคาเบื้องต้นที่เฉพาะเจาะจงมักจะมีผลเป็นราคาซื้อขายที่ใกล้ราคาเบื้องต้นมากกว่า


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406