ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

9/11

เหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 หรือ 9/11 (ไนน์วันวัน) เป็นปฏิบัติการก่อการร้ายที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์[ต้องการอ้างอิง] โดยโจมตีพลีชีพที่ประสานกันสี่ครั้งต่อสหรัฐอเมริกา ในนครนิวยอร์กและพื้นที่วอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เช้าวันนั้น ผู้ก่อการร้าย 19 คนจากกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงอัลกออิดะฮ์ จี้อากาศยานโดยสารสี่ลำ โจรจี้เครื่องบินนั้นนำเครื่องบินทั้งสองพุ่งชนกับ ตึกแฝด เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์กโดยเจตนา และอาคารทั้งสองถล่มลงภายในสองชั่วโมง โจรจี้เครื่องบินชนเครื่องบินลำที่สามกับอาคารเพนตากอนในอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ส่วนเครื่องบินลำที่สี่ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ตกในทุ่งใกล้กับแชงค์วิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย ก่อนจะถึงเป้าหมายที่โจรจี้เครื่องบินต้องการพุ่งชนอาคารรัฐสภาสหรัฐอเมริกา ในวอชิงตัน ดี.ซี. หลังผู้โดยสารพยายามยึดเครื่องกลับคืน มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คนในเหตุโจมตีดังกล่าว และไม่มีผู้รอดชีวิตจากเครื่องบินทั้งสี่ลำ

มีการพุ่งเป้าสงสัยไปที่กลุ่มผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์อย่างรวดเร็ว อุซามะฮ์ บิน ลาดิน ผู้นำกลุ่ม ซึ่งได้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องในตอนแรก สุดท้ายได้อ้างความรับผิดชอบเหตุวินาศกรรมดังกล่าวใน พ.ศ. 2547 อัลกออิดดะห์และบิน ลาดิน อ้างเหตุผลจูงใจในการก่อเหตุ ว่า การสนับสนุนอิสราเอลของสหรัฐอเมริกา การคงทหารสหรัฐประจำการไว้ในซาอุดิอาระเบีย และการลงโทษต่ออิรัก สหรัฐอเมริกาดำเนินมาตรการตอบโต้เหตุวินาศกรรมโดยเริ่มสงครามต่อต้านการก่อการร้าย (War on Terror), การรุกรานอัฟกานิสถานเพื่อขับรัฐบาลตอลิบัน ซึ่งให้ที่พักพิงแก่สมาชิกอัลกออิดะฮ์ หลายประเทศเพิ่มกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายและขยายอำนาจการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้น ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 หลังลอยนวลมาได้นานหลายปี บิน ลาเดนถูกพบและถูกสังหาร

เหตุวินาศกรรมทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อเศรษฐกิจของแมนฮัตตันล่าง การทำความสะอาดเขตเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 พิพิธภัณฑ์และอนุสรณ์ 11 กันยายนแห่งชาติมีกำหนดเปิดในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่ติดกับอนุสรณ์ วันเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ซึ่งมีความสูง 541 เมตร ประเมินไว้ว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน พ.ศ. 2556 เพนตากอนซ่อมแซมภายในเวลาหนึ่งปี และมีการเปิดอนุสรณ์เพนตากอน ติดกับตัวอาคาร ใน พ.ศ. 2551 มีการจัดตั้งอนุสรณ์แห่งชาติเที่ยวบินที่ 93 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และอนุสรณ์ดังกล่าวก่อสร้างเสร็จอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554.

เช้าวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 โจรจี้เครื่องบิน 19 คนยึดเครื่องบินพาณิชย์สี่เครื่องระหว่างทางไปซานฟรานซิสโกและลอสแอนเจลิสหลังนำเครื่องขึ้นจากบอสตัน เนวาร์ค และวอชิงตัน ดี.ซี. โจรเจตนาเลือกจี้เครื่องบินที่ต้องบินเป็นระยะทางไกลเพราะมีน้ำมันอยู่มาก เมื่อเวลา 8.46 น. โจรจี้เครื่องบินห้าคนนำเที่ยวบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 พุ่งเข้าชนกับตึกเหนือของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (1 WTC) และเมื่อเวลา 9.03 น. โจรอีกห้าคนได้นำเที่ยวบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 พุ่งเข้าชนตึกใต้ (2 WTC)

คนร้ายห้าคนนำเที่ยวบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 77 พุ่งเข้าชนอาคารเพนตากอนเมื่อเวลา 9.37 น. ส่วนเที่ยวบินที่สี่ ภายใต้การควบคุมของคนร้ายสี่คน ชนยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ใกล้กับแชงค์วิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อเวลา 10.03 น. หลังผู้โดยสารสู้กับคนร้าย เป้าหมายแท้จริงของเที่ยวบิน 93 นั้นเชื่อกันว่าน่าจะเป็นอาคารรัฐสภาหรือไม่ก็ทำเนียบขาว เครื่องบันทึกเสียงห้องนักบินของเที่ยวบินที่ 93 เปิดเผยว่า ลูกเรือและผู้โดยสารพยายามยึดการควบคุมเครื่องคืนจากคนร้าย หลังทราบผ่านโทรศัพท์ว่ามีเครื่องบินที่ถูกจี้คล้ายกันพุ่งเข้าชนอาคารเช้าวันนั้น เมื่อชัดเจนแก่คนร้ายแล้วว่าผู้โดยสารอาจยึดเครื่องคืน คนร้ายคนหนึ่งจึงออกคำสั่งที่เหลือให้หมุนเครื่องบินและตั้งใจให้เครื่องตก ไม่นานหลังจากนั้น เที่ยวบินที่ 93 ตกในทุ่งใกล้กับแชงค์วิลล์

ผู้โดยสารบางคนสามารถโทรศัพท์ได้โดยใช้บริการแอร์โฟนเคบิน และโทรศัพท์เคลื่อนที่ และให้รายละเอียดว่ามีคนร้ายจี้เครื่องบินหลายคนบนเครื่องบินแต่ละเครื่อง มีการใช้สเปรย์พริก (mace) แก๊สน้ำตา หรือสเปรย์พริกไทย และบางคนบนเครื่องถูกแทง รายงานชี้ว่าโจรจี้เครื่องบินแทงและฆ่านักบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่อง และผู้โดยสารหนึ่งคนหรือมากกว่า ในรายงานสุดท้าย คณะกรรมการ 9/11 พบว่า โจรจี้เครื่องบินได้ซื้อเครื่องมืออเนกประสงค์และเลือกมีดและใบมีด พนักงานต้อนรับบนเที่ยวบินที่ 11 ผู้โดยสารบนเที่ยวบินที่ 175 และผู้โดยสารบนเที่ยวบินที่ 93 กล่าวว่าคนร้ายจี้เครื่องบินมีระเบิด แต่มีผู้โดยสารอีกคนหนึ่งกล่าวเช่นกันว่า เขาคิดว่าระเบิดเป็นของปลอม เอฟบีไอไม่พบร่องรอยวัตถุระเบิดที่จุดตก และคณะกรรมการ 9/11 สรุปว่าระเบิดอาจเป็นของปลอม

เมื่อเป็นที่ทราบแล้วว่าเที่ยวบินที่ 11 ถูกจี้เครื่อง เครื่องบินเอฟ-15 สองลำเร่งรีบออกจากฐานป้องกันแห่งชาติทางอากาศโอติสในรัฐแมสซาชูเซตส์ และขนมาทางอากาศก่อนเวลา 8.53 น. หน่วยบัญชาการป้องกันอวกาศอเมริกาเหนือ (NORAD) มีประกาศ 9 นาทีว่า เที่ยวบินที่ 11 ถูกจี้เครื่อง แต่เพราะการสื่อสารที่เลวกับสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) จึงไม่รับทราบเกี่ยวกับเที่ยวบินอื่นก่อนที่จะชนกับอาคาร หลังอาคารคู่ถูกชนทั้งสองหลังแล้ว เครื่องบินขับไล่เร่งรีบออกมากมากขึ้นจากฐานทัพอากาศแลงเลย์ในรัฐเวอร์จิเนีย เมื่อเวลา 9.30 น. ต่อมาเวลา 10.20 น. มีคำสั่งให้ยิงอากาศยานพาณิชย์ลำใดก็ตามที่สามารถชี้ว่าถูกจี้เครื่อง คำชี้แจงเหล่านี้ไม่ได้ถ่ายทอดมาทันเวลาที่เครื่องบินขับไล่จะปฏิบัติการ เครื่องบินขับไล่บางลำนำเครื่องขึ้นสู่อากาศโดยไม่มีกระสุนจริง และทราบว่าการขัดขวางคนร้ายมิให้นำเครื่องบินชนเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ นักบินจะต้องใช้วิธีการชนเครื่องบินขับไล่ลำที่ตนขับมานั้นเข้ากับเครื่องบินที่ถูกจี้ และดีดตัวออกจากเครื่องในช่วงสุดท้าย ในการสัมภาษณ์นักบินเครื่องบินขับไล่ที่ตอบสนองจากฐานป้องกันแห่งชาติทางอากาศโอติส นักบินคนหนึ่งกล่าวว่า "จะไม่มีใครเรียกเราว่าวีรบุรุษ หากเรายิงเครื่องบินทั้งสี่ลำในวันที่ 11 กันยายน"

อาคารสามหลังในกลุ่มอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ถล่มลงมาเพราะความเสียหายทางโครงสร้าง ตึกใต้ถล่มลงเมื่อเวลา 9.59 น. หลังเพลิงลุกไหม้นานกว่า 56 นาที ซึ่งเกิดจากยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 พุ่งชนอาคาร ตึกเหนือถล่มลงมาเมื่อเวลา 10.28 น. หลังเพลิงลุกไหม้นานกว่า 102 นาที เมื่อตึกเหนือถล่ม เศษซากปรักหักพักตกลงมาโดนอาคาร 7 เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้อาคารเสียหายและเกิดเพลิงไหม้ ไฟเหล่านี้ลุกไหม้นานหลายชั่วโมง เป็นอันตรายต่อความสมบูรณ์ของโครงสร้างอาคาร กระทั่ง 7WTC ถล่มลงมาเมื่อเวลา 17.21 น.

อากาศยานทุกลำภายในสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่ถูกสั่งห้ามขึ้นบิน และอากาศยานที่กำลังบินอยู่ถูกบังคับให้ลงจอดทันที อากาศยานพลเรือนระหว่างประเทศทุกลำหันหลังกลับหรือเปลี่ยนเส้นทางไปยังท่าอากาศยานในแคนาดาหรือเม็กซิโก และเที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งหมดถูกห้ามลงจอดบนแผ่นดินสหรัฐเป็นเวลาสามวัน เหตุโจมตีสร้างความสับสนอย่างกว้างขวางในหมู่สำนักข่าวและผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ ในการรายงานข่าวที่ไม่ได้รับการยืนยันและมักขัดแย้งกันที่ออกอากาศทั้งวันนั้น หนึ่งในข่าวที่แพร่หลายที่สุดว่า มีคาร์บอมบ์ถูกจุดระเบิดที่สำนักงานใหญ่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เครื่องบินอีกลำหนึ่ง เดลตาแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 1989 ต้องสงสัยว่าถูกจี้เครื่อง แต่กลับกลายเป็นว่าไม่จริง หลังเครื่องตอบรับผู้ควบคุมและลงจอดอย่างปลอดภัยในคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ

ในการสัมภาษณ์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2545 คาลิด ซีกห์ โมฮัมเหม็ด (Khalid Sheikh Mohammed) และรอมซี บิน อัล-ชิบฮ์ (Ramzi bin al-Shibh) ผู้ซึ่งถูกเชื่อว่าเป็นผู้จัดการโจมตี กล่าวว่า เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ของเที่ยวบินที่ 93 คือ อาคารรัฐสภาสหรัฐ มิใช่ทำเนียบขาว ระหว่างขั้นวางแผนการโจมตี ฮาเหม็ด อัตตา (Mohamed Atta) โจรจี้เครื่องบินและนักบินเที่ยวบินท่ 11 คิดว่าทำเนียบขาวอาจเป็นเป้าหมายที่ยากเกินไป และสอบถามการประเมินจาก Hani Hanjour ผู้ซึ่งภายหลังจี้เครื่องบินและเป็นนักบินของเที่ยวบินที่ 77 โมฮัมเหม็ดยังว่า เดิมอัลกออิดะฮ์วางแผนจะพุ่งเป้าไปยังโรงงานนิวเคลียร์แทนเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์และเพนตากอน แต่ตัดสินใจคัดค้าน ด้วยเกรงว่าทุกสิ่งอาจ "อยู่นอกเหนือการควบคุม" ตามข้อมูลของโมฮัมเหม็ด การตัดสินใจเลือกเป้าหมายครั้งสุดท้ายอยู่ในมือของนักบิน

มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 2,996 คนจากเหตุวินาศกรรมครั้งนี้ ประกอบด้วยโจรจี้เครื่องบิน 19 คน และเหยื่อ 2,977 คน เหยื่อนี้แบ่งเป็น 246 คนบนเครื่องบินทั้งสี่เครื่อง (ซึ่งไม่มีผู้รอดชีวิตเลยแม้แต่คนเดียว), 2,606 คนในนครนิวยอร์ก ซึ่งมีทั้งที่อยู่ในอาคารระฟ้าทั้งสองและบนพื้นดิน และ 125 คนที่อาคารเพนตากอน เหยื่อเกือบทั้งหมดเป็นพลเรือน แต่มีทหาร 55 นายเสียชีวิตที่เพนตากอน

คนทำงานและผู้เยี่ยมชมมากกว่า 90% ที่เสียชีวิตในหอคอยทั้งสองนั้นอยู่บนหรือเหนือชั้นที่เป็นจุดที่ถูกเครื่องบินชน ในอาคารเหนือ มี 1,355 คนอยู่ในชั้นหรือเหนือชั้นที่เป็นจุดที่ถูกชน ซึ่งติดอยู่หรือเสียชีวิตด้วยการสูดหายใจเอาควันเข้าไป ตกลงหรือกระโดดออกจากอาคารเพื่อหนีควันและเปลวไฟ หรือเสียชีวิตหลังอาคารถล่มลงมาหลังจากนั้น มีอีก 107 คนที่อยู่ต่ำกว่าชั้นที่ถูกชนไม่รอดชีวิต ในอาคารใต้ มีปล่องบันไดปล่องหนึ่งยังไม่ได้รับความเสียหาย ทำให้มี 18 คนหลบหนีจากชั้นเหนือกว่าชั้นที่ถูกชนได้ ในอาคารใต้มีผู้เสียชีวิต 630 คน น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตในอาคารเหนือ ผู้เสียชีวิตในอาคารใต้ลดลงอย่างมากจากการตัดสินใจของผู้ที่ทำงานอยู่ภายในซึ่งเริ่มอพยพเมื่ออาคารเหนือถูกเครื่องบินชน

วินาศกรรมในครั้งนี้ ไม่ได้เกิดขึ้น ณ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เพียงแห่งเดียว แต่อาคารเพนตากอน ก็ได้ถูกโจมตีด้วย โดยมีการใช้เครื่องบินถึง 3 ลำในการก่อการ ซึ่งผู้ก่อการในครั้งนี้ได้เข้ายึดครองเพื่อบังคับให้พุ่งเข้าชนอาคารสำคัญ และยังมีเครื่องบินอีกหนึ่งลำที่ถูกปล้นด้วยแต่ไม่สามารถชนอาคารได้ ทั้งนี้คาดว่าการขัดขืนจากลูกเรือและผู้โดยสารทำให้เครื่องบินลำดังกล่าวตกลงในเขตชนบทที่ซอมเมอร์เซ็ต

เครื่องบินที่ถูกปล้นทั้ง 4 ลำเป็นเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง โดยเป็นรุ่น โบอิง 767-200ER จำนวน 2 ลำ (จากอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 และยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175) อีก 2 ลำเป็นโบอิง 757-200 (จากอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 77 และจากยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93) ทั้ง 4 ลำเป็นเที่ยวบินที่บินข้ามจากฝั่งตะวันออกไปตะวันตก ดังนั้นจึงบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงไปเต็มที่ และเชื่อว่าการพังทลายของอาคารแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ น่าจะเกิดมาจากปริมาณน้ำมันจำนวนมากที่บรรทุกอยู่บนเครื่องบินเหล่านั้น

ในขณะที่เกิดเหตุหายนะอยู่นี้ ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้เดินทางจากฟลอริดากลับสู่วอชิงตัน และได้ออกแถลงการณ์ในเหตุการณ์ โดยขอให้ประชาชนร่วมกันสวดมนต์ให้กับผู้เคราะห์ร้าย รวมทั้งยังประกาศว่า "ผู้ที่กระทำการครั้งนี้จะต้องชดใช้ในสิ่งที่ทำ"

ต่อมามีรายงานว่าอาคารอื่น ๆ ในบริเวณนั้นก็ได้พังทลายลงทั้งหมด (เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ประกอบด้วยอาคาร 7 หลัง) อย่างไรก็ตาม ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นว่า อาคาร 5 ยังคงตั้งอยู่แต่ก็เสียหายเป็นอย่างมากเช่นกัน สำหรับจำนวนผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บนั้นยังไม่ทราบแน่นอน แต่พบศพแล้วกว่า 200 ศพ และยังสูญหายอีกประมาณ 6,000 คน (ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2544)

มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 3,400 คน แบ่งเป็น เสียชีวิตบนเครื่องบิน 246 คน ในอาคารและพื้นดินของนครนิวยอร์ก 2,602 คน และในอาคารเพนตากอน 125 คน รวมถึงนักผจญเพลิงนครนิวยอร์ก 343 คน ตำรวจนครนิวยอร์ก 23 คน ตำรวจการท่าเรือของนิวยอร์กและนิวเจอร์ซี 37 คน และผู้สูญหายอีก 24 คน[ต้องการอ้างอิง]


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406